วิธีปลูกผักสลัด ไฮโดรโปนิกส์ อย่างง่าย
วิธีปลูกผักสลัด ไว้ทานเอง ปลูกง่ายใช้พื้นที่น้อย เป็นที่ทราบกันดีกว่าผักสดในปัจจุบันนั้น มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีสารพิษตกค้าง เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างยิ่ง
ด้วยปัญหาดังกล่าว เราจึงอยากชวนคนรักสุขภาพมาเรียนรู้ วิธีปลูกผักสลัดไว้ทานเอง นอกจากจะได้ทานผักสลัดสด สะอาดปลอดภัยแล้ว ยังเป็นงานอดิเรก ที่ช่วยคลายเครียดให้กับชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี การปลูกผักสลัดเป็นเรื่องง่ายถ้าได้ลงมือทำ
บทความนี้เราจะมาแนะนำ วิธีปลูกผักสลัด แบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเป็นผักที่นิยมสำหรับคนรักสุขภาพ ผักมีความกรอบ อร่อย และมีราคาสูง แต่ปลูกง่าย ที่สำคัญคือใช้พื้นที่น้อย หากไม่มีพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึง ก็สามารถปลูกในบ้านได้ ด้วยการใช้แสงแดดเทียมจากหลอดไฟปลูกต้นไม้ LED Grow Light ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

รางปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ทำจากท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว เกาะกับรั้วบ้าน ใช้ระบบน้ำขึ้นน้ำลง หากต้องการทำระบบปลูกแบบนี้ ต้องมีความชอบในการ DIY นิดหน่อย เพราะรางแบบนี้ไม่มีขายสำเร็จรูป

รางปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์เกาะกับรั้วบ้าน ชุดนี้ทำจากรางสำหรับปลูกผักสลัดแบบ NFT (Nutirient Film Technique) เป็นระบบฟิล์มน้ำไหลวนให้ผลผลิตผักสลัดไม่แตกต่างจากรางที่ทำจากท่อ PVC ซึ่งราง PVC มีราคาถูกกว่า ในรูปเป็นผักมิซูน่า (Mizuna)
หากไม่สะดวกทำระบบปลูกเอง หรือมีพื้นที่น้อยมาก สามารถใช้ชุดปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กได้
ชุดปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ระบบน้ำวน ชุดนี้ไม่ต้อง DIY ไม่ต้องเป็นช่างก็สามารถประกอบและลงมือปลูกได้ทันที (ชุดนี้ต้องปลูกกลางแจ้ง มีแสงแดดส่องถึงอย่างน้อย 6ชม. ต่อวัน)
ถ้าหากไม่มีพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึง หรือโดนแสงแดดน้อย เช่นคนที่อาศัยอยู่ในคอนโด แต่ต้องการ วิธีปลูกผักสลัด ไว้ทานเอง หรืออยากให้ผักโตไวมีรสชาติดี เรามีตัวช่วยที่ใช้แทนแสงแดดได้ เป็นแสงแดดเทียม ซึ่งเป็นแสงจากหลอดไฟปลูกต้นไม้ LED Grow Light ฟูลสเปคตรัม ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
***ลิ้งค์บทความที่เกี่ยวข้องใน*** การเลือกไฟปลูกต้นไม้
ตัวอย่างหลอดไฟปลูกต้นไม้ LED Grow Light ให้แสงสีขาวมองได้ไม่ปวดตา ใช้ทดแทนแสงแดดสำหรับการปลูกพืช
ไฟปลูกต้นไม้กับชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ออกแบบเข้าชุดติดตั้งง่าย
ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ชุดนี้ใช้ไฟปลูกต้นไม้ LED Grow Light ทำให้สามารถปลูกผักสลัดในร่มได้ไม่จำเป็นต้องมีแสงแดด จะปลูกในบ้าน ในคอนโด ร้านอาหาร หรือในห้องนอน ก็สามารถปลูกได้อย่างง่ายดาย ปลูกได้ทุกที่ที่ต้องการ ทำลายทุกข้อจำกัดของการปลูกต้นไม้
วิธีปลูกผักสลัด ลำดับขั้นตอนการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นปัจจัยต้นๆในการเลือกเมล็ดหรือชนิดที่จะปลูก เนืองจากประเทศไทยมีอากาศค่อนข้างร้อน ผักสลัดเป็นพืชที่ต้องการอากาศเย็น อุณหภูมิและช่วงแสง มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต ทั้งใน ด้านต้น ใบ และการเจริญเติบโต อุณหภูมิเหมอะสม ทำให้ผลผลิตสูง
อุณหภูมิที่เมล็ดสามารถงอกได้อยู่ระหว่าง 4.5oC – 27.0oC อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-27oC สูงเกินกว่า 30oC เมล็ดจะพักตัว มีความงอกตํ่า ในอุณหภูมิ 33-35oC เมล็ดไม่สามารถดูดนํ้าได้
อุณหภูมิที่เหมาะสำ หรับการเจริญเติบโต
ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมสำ หรับการเจริญเติบโตคือ 24oC ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญทางใบจะถูกจำกัด สร้างสารคล้ายนํ้านมมาก มีเส้นใยมากเนื้อเยื่อเหนียว และมีรสขม อุณหภูมิจะมีอิทธิพลต่อการเจริญของสลัดปลีและสลัดบัตเตอร์มากกว่าสายพันธุ์อื่น นอกจากนี้ถ้าหากแปลงปลูกมีความชื้นสูงหรือมีอุณหภูมิสูง แห้งแล้งหรือในสภาพอุณหภูมิตํ่า
ความชื้นสูง พืชจะแสดงอาการขาดแคลเซียมได้ง่าย ทำ ให้เกิดโรคปลายใบไหม้ (Tip burn)


เมล็ดผักสลัดจะมีแบบ เมล็ดพอก และ เมล็ดไม่พอก เมล็ดที่พอกจะมีลักษณะกลมผู้ใช้สามารถทำงานได้สะดวกขึ้น วัสดุที่พอกเมล็ดทำจากดินปูนหรือ แคลเซียม และยังเสริมด้วยธาตุอาหาร สารป้องกันโรคพืชและแมลงต่างๆ
อีกทั้งยังมีการกระตุ้นการงอกของเมล็ด ทำให้เมล็ดพอกมีอัตราการงอกสูงกว่าเมล็ดที่ไม่พอก สารที่พอกเมล็ดจะช่วยดูดน้ำและอากาศเข้าสู่เมล็ดได้สะดวกขึ้น ทำให้เมล็ดงอกง่ายกว่าเมล็ดที่ไม่พอก ด้วยคุณภาพที่ดีกว่า จึงทำให้เมล็ดพอกมีราคาสูงกว่าเมล็ดแบบไม่พอก

การเพาะเมล็ดเป็นขั้นตอนเริ่มต้นสำหรับการปลูกผักสลัด ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ต้นกล้าแข็งแรงและเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ จึงเป็นขั้นตอนที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ
***ลิ้งค์บทความที่เกี่ยวข้องใน*** การเพาะเมล็ด
วัสดุเพาะเมล็ด ที่นิยมใช้จะมี 2 ชนิดคือ
- ฟองน้ำ
- เพอร์ไลท์ (Perlite) ผสม เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) อัตราส่วน 4 ต่อ 1

การเพาะเมล็ดในฟองน้ำหากให้น้ำมากไปหรือน้อยไป อาจทำให้เมล็ดตายได้ การเพาะเมล็ดในฟองน้ำจะสะดวก ประหยัด และเป็นที่นิยมกว่าการเพาะในเพอร์ไรท์

การเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์เมล็ดจะงอกง่ายกว่าการเพาะเมล็ดในฟองน้ำ เพราะเพอร์ไรท์จะดูดน้ำให้ความชื้นแก่เมล็ดได้ทั่วถึง มีความชื้นแต่ไม่แฉะจึงไม่ทำให้เมล็ดเน่าตาย
แต่จะทำงานยากกว่าการเพาะเมล็ดในฟองน้ำ เพราะเพอร์ไลท์จะติดมือเวลาทำงาน และอาจหกเลอะเทอะ ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการทำงาน และเพอร์ไรท์ยังมีราคาสูงกว่าฟองน้ำ
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเพาะเมล็ด
- ถาดเพาะเมล็ด หรือภาชนะอื่นที่สามารถใส่น้ำได้
- ฟองน้ำ ถ้าเป็นฟองน้ำสำหรับเพาะเมล็ด ที่ฟองน้ำจะถูกตัดเป็นร่อง สำหรับใส่เมล็ดให้เรียบร้อย
- ไม้ปลายแหลม ใช้สำหรับเขี่ยเมล็ด
- เมล็ดผักสลัดที่ต้องการปลูก
ขั้นตอนการเพาะเมล็ดในฟองน้ำ
- ราดน้ำใส่ฟองน้ำจนทั่วทั้งแผ่น
- บีบนวดฟองน้ำเพื่อให้ฟองน้ำดูดน้ำขึ้นมา
- ใส่เมล็ดลงไปในฟองน้ำ ถ้าเป็นเมล็ดแบบไม่ได้พอก ให้ใส่ด้านที่รากจะงอกลงไปในฟองน้ำ สำหรับเมล็ดแบบพอก ให้วางเมล็ดในแนวนอนเพราะเราไม่ทราบว่ารากจะงอกทางด้านไหนถ้าเป็นผักที่มีลำต้นสูง เช่นผักชี ร๊อคเกต เราสามารถเพาะเมล็ดได้หลายเมล็ดในฟองน้ำ 1 ก้อน ในคลิปนี้คือเมล็ดร๊อคเกต เราจะเพาะ 4 ต้นต่อฟองน้ำ 1 ก้อน โดยใส่ไปในร่องกากบาททั้งสี่ด้านจนครบ ใส่เมล็ดจนครบตามจำนวนที่ต้องการ ถ้าหากเราใส่เมล็ดกลับด้าน เวลาต้นกล้างอก รากจะชี้ขึ้นด้านบน ทำให้ต้นกล้าต้องเสียเวลากลับตัวเอารากลงมา และลำต้นจะยืด ต้นกล้าไม่แข็งแรง
- ราดน้ำจนทั่วฟองน้ำ
- ใช้มือตบๆที่ผิวฟองน้ำเพื่อให้ฟองน้ำดูดน้ำจนชุ่ม
- นำไปไว้ในที่ ที่โดนแสงแดดรำไรหากโดนแดดจัดต้นกล้าอาจจะตายได้
ขั้นตอนการเพาะเมล็ดในเพอร์ไรท์

- นำเพอร์ไรท์ที่ผสมเวอร์มิคูไรท์แล้ว ใส่ลงถ้วยปลูก
- ใส่เมล็ดผักสลัดลงไปในถ้วยปลูกฝังลงไปในเพอร์ไรท์ประมาณ ครึ่งเซนติเมตร หรือวางไว้บนเพอร์ไรท์แล้วใช้เพอร์ไรท์โรยทับหน้าเมล็ดบางๆ
- นำถ้วยปลูกที่ใส่เมล็ดแล้วไปแช่ในถาดใส่น้ำ และรดน้ำให้พอเปียก
- นำไปไว้ในที่ ที่โดนแสงแดดรำไรหากโดนแดดจัดต้นกล้าอาจจะตายได้
หากเมล็ดที่เพาะได้รับแสงน้อยไป ต้นกล้าจะยืดไม่แข็งแรง แต่ถ้าให้แสงแดดมากไปต้นกล้าจะตายเนื่องจากความร้อน
ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการใช้ไฟปลูกต้นไม้ LED Grow Light โดยเปิดไฟให้ได้รับแสงวันละ 16 ชั่วโมง หมดกังวลว่าต้นกล้าจะตายเนื่องจากแดดจัดเกินไป หรือต้นกล้าจะยืดเนื่องจากไม่ได้รับแสงแดด

หลังจากที่เพาะเมล็ดครบ 7วัน ต้นกล้ามีใบแท้ขึ้นแล้ว หากเราปลูกในระบบราง สามารถย้ายกล้าใส่รางปลูกได้เลย หรือหากปลูกในชุดปลูกขนาดเล็กที่ทำการเพาะเมล็ดในชุดปลูกก็ไม่จำเป็นต้องย้ายกล้า สามารถเติมปุ๋ยแล้วปลูกต่อไปได้เลย
โดยให้ความเข้มปุ๋ยอยู่ที่ EC = 1.2 ms/cm และ PH 5.5-6.5 ช่วงนี้ต้นกล้าแข็งแรงพอที่จะได้รับแสงอย่างเต็มที่ แต่หากแสงแดดแรงเกินไปในช่วงบ่ายควรพรางแสงเพื่อป้องกันความร้อนที่สูงเกินไป ความร้อนที่สูงเกินไปจะทำให้พืชคายน้ำมาก และแสดงอาการเหี่ยว หากพืชมีอาการเหี่ยวบ่อยๆจะทำให้ผักที่ปลูกมีรสชาติขมได้ ผักสลัดทั่วไปจะมีอายุเก็บเกี่ยว 40-45 วัน หากเลยกำหนดผักจะแก่ทำให้มีรสชาติขม
ถ้าปลูกโดยใช้แสงแดดเทียมจากหลอดไฟปลูกต้นไม้ LED Grow Light สามารถเปิดไฟให้พืชได้ 16 ชม.ต่อวัน ซึ่งจะทำให้ผักสลัดโตไวกว่าการปลูกด้วยแสงแดดปกติ ความร้อนไม่สูงทำให้ผักไม่ขม และสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อผักมีอายุ 35 วัน เร็วกว่าการปลูกด้วยแสงแดดปกติ
เมื่อผักสลัดมีอายุครบกำหนด ก็ถึงเวลาเก็บผักไปรับประทานได้ หากเราปลูกผักสลัดเอง ไม่จำเป็นต้องเก็บผักออกมาทั้งต้น ให้เด็ดใบล่างๆออกมาทานก่อน แล้วปล่อยทิ้งไว้อีก 4-5 วัน เราก็จะได้ผักสลัดทานอีกรอบ ทำอย่างนี้ได้ 3-4 รอบ ทำให้เรามีผักสลัดสดๆไว้ทานตลอดไม่เสียเวลาในการปลูกมากเหมือนการเริ่มเพาะเมล็ดใหม่





ตัวอย่างผักสลัดจากชุดปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ ที่ปลูกในบ้านไม่ใช้แสงแดด


